พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้กำหนดความมุ่งหมาย และหลักการสำคัญใน การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน ซึ่งในหมวด 8 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรา 47 กำหนดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับประกอบด้วย ระบบประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกสถาบัน วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพได้เริ่มมีระบบ และกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 โดยมีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะและสำนักมาอย่างต่อเนื่อง โดยยึดตามเกณฑ์ 9 องค์ประกอบของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกนั้นวิทยาลัยได้รับการตรวจประเมินครั้งล่าสุดจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เมื่อวันที่ 14 – 15 สิงหาคม 2550 ดังนั้นเพื่อให้อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาของวิทยาลัยมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยจึงได้จัดทำเอกสาร “ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา ” เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา และแนวทาง การประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกัน
Q : การประกันคุณภาพคืออะไร
A : การประกันมี 2 ความหมาย คือ Insurance ซึ่งได้แก่การประกันชีวิต อุบัติภัยรถยนต์ ซึ่งเป็นเรื่องราวของการจ่ายเงินก่อน เมื่อเกิดเหตุแล้วจึงเรียกร้องค่าชดเชย ส่วนอีกความหมายหนึ่งคือ Assurance ซึ่งได้แก่ การให้ความมั่นใจแก่ประชาชนว่าผลผลิตของหน่วยงานน่าจะมีคุณภาพโดยการให้ข้อมูลสารสนเทศ หลักฐานว่าทุกคนในหน่วยงานปฏิบัติงานอย่างไร ประสิทธิภาพตรงตามขั้นตอนมาตรฐานการปฏิบัติงาน และคาดว่าผู้ใช้บริการน่าจะได้รับความพอใจ
Q : การประกันคุณภาพการศึกษาคืออะไร
A : การประกันคุณภาพการศึกษา ( Quality Assurance ) หมายถึง การสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน (เจ้าของเงินภาษี) ว่าทุกคนในสถานศึกษาปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถเพื่อผลผลิตจะได้มีคุณภาพ
Q : ผลผลิตทางการศึกษามีอะไรบ้าง
A : ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ คุณภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และ ปวช. และระดับอุดมศึกษา อันได้แก่ คุณภาพของบัณฑิต คุณภาพของงานวิจัย คุณภาพทางวิชาการ และคุณภาพงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
Q : คุณภาพของนักเรียนมีอะไรบ้าง
A : ความรู้ ความคิด คุณธรรม/จริยธรรม สุนทรียภาพ ทักษะทางการทำงานสุขภาพกาย และจิตใจ และทักษะการเรียน
Q : คุณภาพของบัณฑิตมีอะไรบ้าง
A : ตามที่ระบุไว้ในหลักสูตรแต่ละหลักสูตร
Q : คุณภาพของงานวิจัยมีอะไรบ้าง
A : การเผยแพร่และการนำไปใช้ประโยชน์
Q : คุณภาพงานบริการทางวิชาการสู่สังคมมีอะไรบ้าง
A : การที่ผู้เข้ารับการบริการได้ความรู้ ความสามารถ ทัศนคติ ตามวัตถุประสงค์ของโครงการบริการ
Q : คุณภาพงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมมีอะไรบ้าง
A : การที่ผู้จัดและผู้เข้ารับบริการได้ตัวอย่างการจัดงาน เกิดความชื่นชมในงานศิลปวัฒนธรรม และนำไปใช้เผยแพร่หรือปฏิบัติต่อเพื่อรักษาความเป็นชาติไทยไว้
Q : ประกันอะไรบ้าง
A : ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานประกันตามมาตรฐาน 14 ข้อ ที่คณะรัฐมนตรีรับรองเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2543 ระดับอุดมศึกษาประกันตามองค์ประกอบ 9 ข้อ ที่คณะรัฐมนตรีรับรองเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2543
Q : เก้าองค์ประกอบของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีอะไรบ้าง
A : มีดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนการดำเนินการ องค์ประกอบที่ 2 การเรียนการสอน
องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมการพัฒนานิสิตนักศึกษา
องค์ประกอบที่ 4 การวิจัย
องค์ประกอบที่ 5 การบริการวิชาการแก่สังคม
องค์ประกอบที่ 6 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
องค์ประกอบที่ 7 การบริหารและการจัดการ
องค์ประกอบที่ 8 การเงินและงบประมาณ
องค์ประกอบที่ 9 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
Q : การประกันคุณภาพมีกี่ส่วน
A : มี 2 ส่วน คือ การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และการประกันคุณภาพโดยองค์กรภายนอก
1. การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เป็นการวิเคราะห์ตัวเองเพื่อแก้ไขปรับปรุงในจุดที่เป็นจุดอ่อน ซึ่งได้แก่ อาจารย์ คุณภาพผู้บริหาร คุณภาพบุคลากร
2. การประกันคุณภาพโดยองค์กรภายนอก สถานศึกษาจะได้รับการประเมินโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ประเมินสถานศึกษาทุก 5 ปี แล้วแจ้งรัฐบาลกับประชาชน
Q : ประกันคุณภาพไปเพื่ออะไร
A :
1. เพื่อให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาของไทยจะได้มีคุณภาพแข่งขันกับประเทศอื่นได้
2. เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารจัดการ
3. เพื่อให้ประชาชนได้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของผลผลิตของสถานศึกษา
4. เพื่อให้ประชาชนได้ข้อมูลว่าทุกคนในสถานศึกษาทำงานคุ้มค่ากับภาษีของประชาชน
Q : ระบบประกันคุณภาพมีกี่ระบบ
A : มีหลายระบบ แต่ระบบที่ประเทศควรจะใช้ คือ ระบบที่ประเทศไทยได้พัฒนาเอง ไม่ควรใช้ระบบของต่างประเทศเพราะนอกจากจะสูญเสียเงินให้ต่างชาติแล้ว ยังไม่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมของประเทศไทย ดังนั้นควรมีระบบที่เหมาะสมกับประเทศไทย
Q : ใครคือคนสำคัญที่ทำให้เกิดการประกันคุณภาพในหน่วยงาน
A : ผู้บริหารของสถานศึกษา / โรงเรียน / มหาวิทยาลัย / กระทรวง / ทบวง / กรม สถานศึกษาหน่วยงานที่เข้าใจเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาจึงจะไดรับการประกัน
Q : ใครได้ใครเสีย
A :
1. ประเทศไทย จะได้มีการจัดการศึกษาระดับกระทรวง/ทบวง/กรม สถานศึกษา/โรงเรียน/มหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพ ( Efficiency ) โปร่งใส คุ้มค่ากับเงินที่เสียและร่วมรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น
2. ระดับสถานศึกษา/โรงเรียน/มหาวิทยาลัย จะได้ให้ความมั่นใจและข้อมูลประชาชนเกี่ยวกับคุณภาพของผลผลิตของตนเพื่อประชาชน จะได้เพิ่มศรัทธาในสถานศึกษาดังกล่าวและมีทางเลือกให้ลูกหลานได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ
3. ผู้เกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ทำการประกันคุณภาพอาจเสียเวลาทำงาน เงิน คน วัตถุอุปกรณ์ในตอนต้น ในการสร้างความเข้าใจเรื่องคุณภาพ
และรวบรวมข้อมูลเพื่อชี้จุดอ่อนและจุดแข็งในการปฏิบัติงานของทุกคน แต่ในระยะยาวจะมีการดำเนินงานที่เป็นระบบ และแต่ละคนปฏิบัติงานตามภาระงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งจะทำให้เกิดระบบการปฏิบัติงานที่ดีต่อไป
A : มีหลายประเด็น เช่น บทบัญญัติทางกฎหมายที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 พ.ร.บ.การจัดตั้ง สมศ. (4 พฤศจิกายน 2543) พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร การแข่งขันระดับชาติ WTO ปี ค.ศ.2002 การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ การมีสถานศึกษาต่างประเทศเข้ามาทำธุรกิจการศึกษาและวิกฤติทางการศึกษา
Q : การประกันคุณภาพเป็นการพัฒนาใคร
A : การประกันคุณภาพ เป็นการพัฒนาคน 3 กลุ่ม ได้แก่
1. ผู้บริหาร ในด้านทักษะและความสามารถในการบริหารจัดการ
2. ครู / อาจารย์ ในด้านทักษะและความสามารถในการสอน-วัดผล แนะแนว วิจัย และบริการทางวิชาการ
3. เจ้าหน้าที่ในด้านทักษะและความสามารถในการทำงานตามหน้าที่
Q : การประกันคุณภาพเริ่มที่ใคร
A : เริ่มที่ทุกคนให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้แก่หน่วยงาน เพื่อประมวลและย้อนกลับ ( Feedback ) มาที่ทุกคน และบอกให้ทราบว่าแต่ละคนทำงานอย่างไร มีจุดอ่อนและจุดแข็งที่ใด และต้องปรับปรุงในด้านใดบ้าง
Q : การประกันคุณภาพเน้นที่อะไร
A : เน้นที่การประกันกระบวนการทำงานของแต่ละคน
Q : การประกันคุณภาพเกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพและการประเมินคุณภาพอย่างไร
A : การประกันคุณภาพ ( Quality Assurance ) เกี่ยวข้องกับคำ 4 คำ คือ Quality Control , Quality Audit , Quality Accreditation และ Quality Assessment ซึ่งจะได้อธิบายความหมายและความเกี่ยวข้องกันดังเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
Quality Assurance = f ( Quality Control , Quality Audit , Quality Assessment )
1. การประกันคุณภาพ ( Quality Assurance ) หมายถึง การระบุความชัดเจนในวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ตลอดจนวิธีปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
2. การควบคุมคุณภาพ ( Quality Control ) หมายถึง การดำเนินงานตามแผนที่วางไว้อย่างรัดกุมทุกขั้นตอน
3. การตรวจสอบคุณภาพ ( Quality Audit ) แยกได้เป็น
Q : การประกันคุณภาพในหน่วยงานมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
A : Utumporn's QA Model ได้ระบุว่า ในการทำการประกันคุณภาพการศึกษา ควรมี 9 ขั้นตอนที่เชื่อมโยงกันเป็นระบบดังนี้
เมื่อทำมาถึงขั้นที่ 9 ทุกหน่วยงานจะมีข้อมูลผลการปฏิบัติงานรายบุคคล และระดับ หน่วยงานซึ่งจัดทำตามองค์ประกอบ / มาตรฐาน ซึ่งทำให้สามารถนำมาเขียน SAR ฉบับที่ 2 ได้แล้ว และเมื่อเขียน SAR 2 แล้ว จะเห็นการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ SAR 1 และการวิเคราะห์จุดอ่อน / แข็ง จะนำไปสู่การปรับ ข้อ 5, 7, 8 เพราะ SAR 2 น่าจะชี้ความแตกต่างหรือการเปลี่ยนแปลงในผลงานอันเนื่องมาจากวิธีทำงานที่ดีขึ้น นอกจากนี้ SAR 2 ยังนำไปสู่การปรับปรุงประเด็นในแต่ละขั้นตอน เข่น อาจยังมีคนไม่เข้าใจหรือไม่สำนึก หรือไม่ร่วมมือ ก็จะได้หาทางแก้ไขปรับปรุงต่อไป การชี้การเปลี่ยนแปลงยังทำได้โดยการจัดคณะผู้ประเมินนอกหน่วยงานให้มาตรวจเยี่ยม และประเมินตาม SAR 2 เพื่อยืนยันว่าหน่วยงานมีการเปลี่ยนแปลงจริงหรือไม่ การมีคณะผู้ประเมินมาตรวจเยี่ยมถือว่าเป็นการประกันคุณภาพภายในอีกอย่างหนึ่ง เพราะมาเพื่อช่วยให้ทุกคนในหน่วยงานได้เห็นตัวเองชัดเจนขึ้น และช่วยเสนอแนะแบบกัลยาณมิตร ในสิ่งที่จะทำให้หน่วยงานดีขึ้น ดังนั้น วงจร 9 ข้อ จึงเป็นวงจรไม่รู้จบ และถ้าทำอย่างจริงจังก็จะนำไปสู่เป้าหมายคุณภาพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ